banner_1_summer banner_2_summer banner_1_m_summer

พิพิธภัณฑ์
ศิลป์แผ่นดิน

pattern1
pattern1
patternb2
patternb2

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
พระบรมราชชนนีพันปีหลวง โดยเสด็จ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร
มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ไปทรงเยี่ยมราษฎร ทั่วทุกภูมิภาค
ในประเทศไทย

ทรงสัมผัสถึงความเดือดร้อนทุกข์เข็ญของราษฎรด้วยพระองค์เอง ขณะเดียวกันได้ทอดพระเนตรงานหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวนาชาวไร่ ทรงชื่นชมฝีมือช่างและนิสัยรักศิลปะของคนไทย จึงมีพระราชปณิธานที่จะให้ราษฎรทั้งหลายหลุดพ้นจากความยากจน และมีรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวด้วยการริเริ่มโครงการศิลปาชีพขึ้น เพื่อทรงส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากการทำงานหัตถกรรมโดยไม่ทิ้งอาชีพเกษตรกรรม ต่อมาพุทธศักราช 2519 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ โดยมีวัตถุประสงค์ 2 ประการ
  1. มีพระราชประสงค์ที่จะช่วยแก้ปัญหาปากท้องของราษฎร


    ให้มีรายได้เพิ่ม และพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. อนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมที่เป็นภูมิปัญญาไทยไม่ให้สูญหาย

Arts of
the Kingdom

art-1

การดำเนินงานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ฯ แบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ ได้แก่

ส่วนกลาง คือ สถาบันสิริกิติ์ และส่วนภูมิภาค คือ
ศูนย์ศิลปาชีพและสมาชิก

ศิลปาชีพต่างจังหวัด ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองศิลปาชีพ

สถาบันสิริกิติ์

พุทธศักราช 2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง โรงฝึกศิลปาชีพ ภายในสวนจิตรลดา เริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อใช้เป็นที่ฝึกหัดงานหัตถศิลป์แขนงต่าง ๆ ที่นับวันจะสูญหาย โดยเฉพาะงานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ทรงคัดเลือกบุตรหลานชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน
ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานโอกาสให้เข้ามาฝึกอบรมงานหัตถกรรมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้และสืบสานงานศิลปะชั้นสูงของไทย



เมื่อนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้ขยายเป็นโรงฝึก เปิดสอน 23 แผนก

เช่น
แผนกเครื่องเงิน – เครื่องทอง แผนกถมทอง แผนกคร่ำ แผนกลงยาสี แผนกแกะสลักไม้ แผนกตกแต่งปีกแมลงทับ เป็นต้น



เมื่อพุทธศักราช 2553 โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้ยกสถานะเป็น
“สถาบันสิริกิติ์”

สืบเนื่องกว่า 40 ปี สถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์บุคลากรและผลงานประณีตศิลป์ชั้นสูง เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนงานศิลปะไทยเพื่อช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรควบคู่ไปกับการธำรงรักษามรดกศิลป์ของไทย

ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ผลงานเหล่านี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ด้วยทรงเชื่อมั่นในสายเลือดคนไทยทุกคนมีความเป็นช่างและ
มีศิลปะอยู่ในตัวเอง

ดังพระราชดำรัส

art-2

“...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอมาว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน


ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อน และฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามีโอกาส
ได้เรียนรู้
และฝึกฝน
เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้...”

พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

วันที่ 11 สิงหาคม 2532

pattern1

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

มีพระราชกระแสรับสั่งว่าผลงานของสถาบันสิริกิติ์ให้ทำเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นสมบัติของแผ่นดิน นอกจากจะมีผลงานอันทรงคุณค่าที่รักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว
งานช่างต่าง ๆ
ที่เกือบจะสูญหายก็กลับมามีผู้สืบทอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ภาคภูมิใจใน
ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เรียนรู้และรับรู้ทั่วกันว่าคนไทยมีศิลปะ มีจิตใจที่อ่อนโยน

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จัดแสดงผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของสถาบันสิริกิติ์

ผลงานทุกชิ้นรังสรรค์ขึ้นใหม่ในแผ่นดินรัชกาลที่ 9 แต่ยังคงรักษาแบบวิธีงานช่างตามจารีตไทย
เช่น บุษบกมาลา พระที่นั่งพุดตานถมทอง เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์จำลอง
ตรีพิธพรรณบุกษก ฉากปักไหมน้อย เรื่อง อิเหนา
หรือ ฉากจำหลักไม้ เรื่อง สังข์ทองและหิมพานต์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ ฯ ยังมีผลงานหัตถศิลป์อันทรงคุณค่า
อีก
จำนวนมาก อาทิ จักสานย่านลิเภา จักสานไม้ไผ่ลายขิด ตกแต่งปีกแมลงทับ แกะสลักตุ๊กตาไม้ เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินจึงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวที่จัดแสดงงานศิลปะ
อันเกิดจาก
สองมือของบุตรหลานชาวนาชาวไร่ไทย ช่างสถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่มีแบบ ไม่มีพิมพ์ เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีพื้นฐานงานศิลปะ บางคนอ่าน
ไม่ออก เขียนไม่ได้
แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง งานหัตถศิลป์สมบัติของแผ่นดิน จึงฝากไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน
ได้ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย

art-3

สถาบันสิริกิติ์

พุทธศักราช 2521 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้ง โรงฝึกศิลปาชีพ ภายในสวนจิตรลดา เริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อใช้เป็นที่ฝึกหัดงานหัตถศิลป์แขนงต่าง ๆ ที่นับวันจะสูญหาย โดยเฉพาะงานที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติ

ทรงคัดเลือกบุตรหลานชาวนาชาวไร่ที่ยากจน ไม่มีที่ดินทำกิน
ด้วยพระองค์เอง และพระราชทานโอกาสให้เข้ามาฝึกอบรมงานหัตถกรรมเพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้และสืบสานงานศิลปะชั้นสูงของไทย



เมื่อนักเรียนเพิ่มจำนวนมากขึ้นจึงได้ขยายเป็นโรงฝึก เปิดสอน 23 แผนก

เช่น
แผนกเครื่องเงิน – เครื่องทอง แผนกถมทอง แผนกคร่ำ แผนกลงยาสี แผนกแกะสลักไม้ แผนกตกแต่งปีกแมลงทับ เป็นต้น



เมื่อพุทธศักราช 2553 โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้ยกสถานะเป็น
“สถาบันสิริกิติ์”

สืบเนื่องกว่า 40 ปี สถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์บุคลากรและผลงานประณีตศิลป์ชั้นสูง เป็นศูนย์กลางการเรียนการสอนงานศิลปะไทยเพื่อช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎรควบคู่ไปกับการธำรงรักษามรดกศิลป์ของไทย

ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ผลงานเหล่านี้เป็นสมบัติของแผ่นดิน ด้วยทรงเชื่อมั่นในสายเลือดคนไทยทุกคนมีความเป็นช่างและ
มีศิลปะอยู่ในตัวเอง

ดังพระราชดำรัส

art-2

“...ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอมาว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน


ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนา หรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อน และฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามีโอกาส
ได้เรียนรู้
และฝึกฝน
เขาก็จะแสดงความสามารถออกมาให้เห็นได้...”

พระราชดำรัส พระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้า ฯ ถวายพระพรชัยมงคล
ในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา

วันที่ 11 สิงหาคม 2532

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน

สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง

มีพระราชกระแสรับสั่งว่าผลงานของสถาบันสิริกิติ์ให้ทำเข้าพิพิธภัณฑ์เป็นสมบัติของแผ่นดิน นอกจากจะมีผลงานอันทรงคุณค่าที่รักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แล้ว
งานช่างต่าง ๆ
ที่เกือบจะสูญหายก็กลับมามีผู้สืบทอด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้ภาคภูมิใจใน
ศิลปวัฒนธรรมของชาติไทย เรียนรู้และรับรู้ทั่วกันว่าคนไทยมีศิลปะ มีจิตใจที่อ่อนโยน

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน จัดแสดงผลงานศิลปะชิ้นสำคัญของสถาบันสิริกิติ์

ผลงานทุกชิ้นรังสรรค์ขึ้นใหม่ในแผ่นดินรัชกาลที่ 9 แต่ยังคงรักษาแบบวิธีงานช่างตามจารีตไทย
เช่น บุษบกมาลา พระที่นั่งพุดตานถมทอง เรือพระที่นั่งศรีสุพรรณหงส์จำลอง
ตรีพิธพรรณบุกษก ฉากปักไหมน้อย เรื่อง อิเหนา
หรือ ฉากจำหลักไม้ เรื่อง สังข์ทองและหิมพานต์ ฯลฯ

นอกจากนี้ ภายในพิพิธภัณฑ์ ฯ ยังมีผลงานหัตถศิลป์อันทรงคุณค่า
อีก
จำนวนมาก อาทิ จักสานย่านลิเภา จักสานไม้ไผ่ลายขิด ตกแต่งปีกแมลงทับ แกะสลักตุ๊กตาไม้ เป็นต้น

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดินจึงเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งเดียวที่จัดแสดงงานศิลปะ
อันเกิดจาก
สองมือของบุตรหลานชาวนาชาวไร่ไทย ช่างสถาบันสิริกิติ์สร้างสรรค์ผลงานโดยไม่มีแบบ ไม่มีพิมพ์ เริ่มต้นจากศูนย์ ไม่มีพื้นฐานงานศิลปะ บางคนอ่าน
ไม่ออก เขียนไม่ได้
แต่ด้วยพระมหากรุณาธิคุณใน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง งานหัตถศิลป์สมบัติของแผ่นดิน จึงฝากไว้เป็นมรดกให้ลูกหลาน
ได้ภาคภูมิใจในเอกลักษณ์ความเป็นชาติไทย

art-3
pattern1
patternb2

แกะสลักไม้และแกะสลักตุ๊กตาไม้

wood-carving-1

ตุ๊กตาไม้โมกมันแกะสลัก

wood-carving-3

งานแกะสลักไม้

คร่ำ

damascene-inlay-1

ผอบคร่ำเงินคร่ำทอง ประดับเพชร
ไข่มุก และพลอยนพเก้า

damascene-inlay-2

ตลับทรงผลฟักทองคร่ำเงินคร่ำทอง
ประดับเพชร

damascene-inlay-3

งานคร่ำทอง

pattern1
patternb2

ถมทอง

gold-nielloware-1

กระเป๋าราตรีทรงผลมะเฟืองถมทอง
ประดับเพชร

gold-nielloware-2

กระเป๋าราตรีทรงข้างรีถมตะทอง
ประดับเพชร

gold-nielloware-3

พระกรัณฑ์ถมตะทอง

เครื่องเงินเครื่องทอง

gold-silverware-1

ข้องปลาสานเส้นเงิน

gold-silverware-2

กอบัวเงิน-ทอง

pattern1
pattern1

ปักผ้า

embroidery-1

งานภาพปักไหมน้อย

embroidery-2

งานภาพปักไหมน้อย

embroidery-3

งานภาพปักไหมน้อย

pattern1

ตกแต่งปีกแมลงทับ

beetle-wing-1

กินรีไม้แกะสลักตกแต่งปีกแมลงทับ
เครื่องทรงทองคำ ประดับเพชร

beetle-wing-2

ไก่แจ้ไม้แกะสลัก ตกแต่งปีกแมลงทับ

beetle-wing-3

กล่องตกแต่งแผ่นสานย่านลิเภา
สอดปีกแมลงทับ ประดับเพชร

Beetle Wings Decoration sec

พิพิธภัณฑ์ศิลป์
แผ่นดิน

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดทำการ: วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 15.30 น.
ปิดทำการ: วันจันทร์ และวันอังคาร เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์

ค่าบัตรเข้าชม

- บัตรราคา 150 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป
- บัตรราคา 75 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
(โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
เฉพาะชาวต่างชาติสามารถใช้บัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังได้
โทรศัพท์: +66-2-283-9557 หรือ +66-3-535-2995
เว็บไซต์: www.artsofthekingdom.com

เข้าสู่เว็บไซต์
pattern1
พิพิธภัณฑ์ศิลป์
แผ่นดิน

ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกาะเกิด อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เปิดทำการ: วันพุธ – วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 15.30 น.
ปิดทำการ: วันจันทร์ และวันอังคาร เทศกาลปีใหม่และเทศกาลสงกรานต์

ค่าบัตรเข้าชม

- บัตรราคา 150 บาท สำหรับประชาชนทั่วไป
- บัตรราคา 75 บาท สำหรับนักเรียน นักศึกษา และผู้ที่อายุ 60 ปีขึ้นไป
(โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
เฉพาะชาวต่างชาติสามารถใช้บัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังได้
โทรศัพท์: +66-2-283-9557 หรือ +66-3-535-2995
เว็บไซต์: www.artsofthekingdom.com

เข้าสู่เว็บไซต์
gold

สถานที่เยี่ยมชมอื่นๆ

ดูทั้งหมด