สถานที่เยี่ยมชม

พิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน
ตั้งอยู่ ณ ตําบลเกาะเกิด อําเภอบางปะอิน
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ
ทุกวันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่
และสงกรานต์)
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เปิดให้เข้าชมพิพิธภัณฑ์ฯ
ทุกวันอังคาร – อาทิตย์ (ปิดวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่
และสงกรานต์)
แสดงเนื้อหา
สถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
นับตั้งแต่ช่วงต้นรัชสมัยรัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ไปทรงเยี่ยมราษฎร
ในทุกภูมิภาค ได้ทอดพระเนตรเห็นงานหัตถกรรม จากภูมิปัญญาของราษฎรที่เป็นชาวนาชาวไร่ในหลายหมู่บ้านหลายพื้นที่ในชนบท ทรงเล็งเห็นและทรงชื่นชมฝีมือช่างและนิสัยรักศิลปะของชาวไทยดังที่เคยมีพระราชดำรัสไว้
ในคราวหนึ่งว่า “ข้าพเจ้านั้นภูมิใจเสมอมาว่า คนไทยมีสายเลือดของช่างฝีมืออยู่ทุกคน ไม่ว่าจะเป็นชาวไร่ชาวนาหรือมีอาชีพใด อยู่สารทิศใด คนไทยมีความละเอียดอ่อน และฉับไวต่อการรับศิลปะทุกชนิด ขอเพียงแต่ให้เขามี
โอกาสได้เรียนรู้และฝึกฝน เขาก็จะแสดงความสามารถออกมา ให้เห็นได้” (พระราชดำรัส สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง พระราชทานแก่ผู้เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายพระพรชัยมงคล เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๒ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา)

พระราชดำรัสนี้แสดงถึงที่มาของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯให้จัดตั้งขึ้น เมื่อปี ๒๕๑๙ ทรงส่งเสริมให้ชาวบ้านมีรายได้เสริม จากการทำงานหัตถกรรม โดยไม่ทิ้งอาชีพเกษตรกรรมขณะเดียวกันเพื่อธำรงรักษางานศิลปะที่เกือบจะสูญหาย ไปกับกาลเวลา
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ขึ้นในปี ๒๕๒๑ พระราชทานโอกาสให้สมาชิกในครอบครัว ชาวนาชาวไร่ที่ยากจนมาฝึกอบรมงานศิลปาชีพแขนงต่าง ๆ เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อีกทั้งเป็นการสืบสานศิลปะชั้นสูงของไทยด้วยโรงฝึกศิลปาชีพเริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ภายในสวนจิตรลดาแล้วค่อย ๆ ขยายเป็นโรงฝึกขนาดใหญ่มีแผนกงานศิลป์และงานช่างฝีมือหลายสาขา อาทิ ถมทอง คร่ำ เครื่องเงินเครื่องทอง ลงยาสี จักสานย่านลิเภา แกะสลักไม้และแกะสลักตุ๊กตาไม้ ตกแต่งปีกแมลงทับ ปักผ้า ทอผ้าฯลฯ
ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดตั้งโรงฝึกศิลปาชีพสวนจิตรลดา ขึ้นในปี ๒๕๒๑ พระราชทานโอกาสให้สมาชิกในครอบครัว ชาวนาชาวไร่ที่ยากจนมาฝึกอบรมงานศิลปาชีพแขนงต่าง ๆ เพื่อเป็นอาชีพเสริมเพิ่มรายได้อีกทั้งเป็นการสืบสานศิลปะชั้นสูงของไทยด้วยโรงฝึกศิลปาชีพเริ่มจากเต็นท์เล็ก ๆ ข้างกองราชเลขานุการในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถพระบรมราชชนนีพันปีหลวง ภายในสวนจิตรลดาแล้วค่อย ๆ ขยายเป็นโรงฝึกขนาดใหญ่มีแผนกงานศิลป์และงานช่างฝีมือหลายสาขา อาทิ ถมทอง คร่ำ เครื่องเงินเครื่องทอง ลงยาสี จักสานย่านลิเภา แกะสลักไม้และแกะสลักตุ๊กตาไม้ ตกแต่งปีกแมลงทับ ปักผ้า ทอผ้าฯลฯ







ตลอดระยะเวลา ๔๐ ปี โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ได้สร้างสรรค์บุคลากร และผลงานประณีตศิลป์ชั้นสูงรวม ๒๓ สาขา ได้พัฒนาช่างศิลป์สู่ระดับฝีมือช่างหลวงแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และยังคงยึดมั่นในพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางงานช่าง ช่วยสร้างชีวิตที่ดีขึ้นให้แก่ราษฎร ควบคู่ไปกับการธำรงรักษามรดกศิลป์ไทยและเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๕๓ รัฐบาลได้ประกาศยกสถานะ โรงฝึกศิลปาชีพ สวนจิตรลดา ขึ้นเป็น “สถาบันสิริกิติ์” ด้วยเล็งเห็นศักยภาพ ของหน่วยงานที่สร้างสรรค์ผลงานก่อให้เกิดคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ อย่างยั่งยืนในหลายมิติ และเพื่อเฉลิมพระเกียรติในโอกาสมหามงคลที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษาในพุทธศักราช ๒๕๕๕
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่างานช่างไทยโบราณที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของความเป็นไทย บุคลากรฝีมือเยี่ยมที่มีความสามารถสร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นสูง ของสถาบันสิริกิติ์ที่แม้แต่นานาชาติยังร่วมยกย่องชื่นชม ล้วนเกิดจากพระวิสัยทัศน์และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานศิลปะไทยฝากไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
เป็นที่ประจักษ์ชัดว่างานช่างไทยโบราณที่บ่งบอกเอกลักษณ์ของความเป็นไทย บุคลากรฝีมือเยี่ยมที่มีความสามารถสร้างสรรค์งานศิลป์ชั้นสูง ของสถาบันสิริกิติ์ที่แม้แต่นานาชาติยังร่วมยกย่องชื่นชม ล้วนเกิดจากพระวิสัยทัศน์และพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชบรมนาถบพิตร และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ที่ทรงสืบสานศิลปะไทยฝากไว้เป็นสมบัติของแผ่นดิน
เฉพาะชาวต่างชาติสามารถใช้บัตรเข้าชมพระบรมมหาราชวังเข้าชมฟรี หรือซื้อบัตรได้ที่หน้าพิพิธภัณฑ์ศิลป์แผ่นดิน ต.เกาะเกิด อ.บางปะอิน จ.พระนครศรีอยุธยา
บัตรราคา ๑๕๐ บาท นักเรียน นักศึกษาและผู้สูงอายุ ๗๕ บาท (แสดงบัตรประจําตัว) เวลาเข้าชม ๑๐.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. (เวลาจําหน่ายบัตร ๐๙.๔๕ – ๑๕.๐๐ น.) ปิดวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์
บัตรราคา ๑๕๐ บาท นักเรียน นักศึกษาและผู้สูงอายุ ๗๕ บาท (แสดงบัตรประจําตัว) เวลาเข้าชม ๑๐.๐๐ – ๑๕.๓๐ น. (เวลาจําหน่ายบัตร ๐๙.๔๕ – ๑๕.๐๐ น.) ปิดวันจันทร์ เทศกาลปีใหม่ และสงกรานต์
www.artsofthekingdom.com โทร. ๐-๒๒๘๓ - ๙๔๑๑ ผลงานสถาบันสิริกิติ์ มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯเชิญชมงานศิลปะชิ้นสำคัญของแผ่นดิน

แกะสลักไม้ และแกะสลักตุ๊กตาไม้
ผลงานไม้แกะสลักของสถาบันสิริกิติ์มี ๒ ลักษณะ คือแกะเป็นภาพนูนบนเนื้อไม้ และแกะลอยตัว ที่ผ่านมาได้สร้างสรรค์ทั้งผลงานขนาดเล็ก เช่นตุ๊กตาไม้โมกมัน ปกรายการพระกระยาหารฯลฯ และยังมีชิ้นงานขนาดใหญ่ ที่น่าภาคภูมิใจ คือ ฉากจำหลักไม้ตำนานเพชรรัตน์ฉากจำหลักไม้สระโบกขรณี และผลงานชิ้นเอกล่าสุดฉากจำหลักไม้เรื่อง “สังข์ทอง” และ “หิมพานต์”

คร่ำ
งานคร่ำเป็นการประดิษฐ์ลวดลาย ด้วยการฝังเส้นเงินหรือเส้นทองคำลงบนโลหะที่เป็นเหล็กด้วยเทคนิควิธีโบราณ โดยการทำผิวหน้าของเหล็กให้ขรุขระ ด้วยการสับเป็นเส้นตัดไปมาในทิศทางต่างๆ ซึ่งเรียกว่า “การสับเหล็ก” เมื่อฝังเส้นเงินเส้นทองลงไปตามลวดลายบนเหล็กที่สับแล้ว หนามเหล็กที่เกิดขึ้นจะทำหน้าที่คล้ายหนามเตยยึดเส้นเงินเส้นทองไว้ตามลวดลาย
เครื่องเงินเครื่องทอง
การทำเครื่องเงินและเครื่องทองให้งดงามได้นั้น ช่างทองต้องมีความชำนาญในการขึ้นรูปแผ่นเงิน หรือแผ่นทองให้ได้รูปทรงสมสัดส่วนที่ต้องการ และต้องฝึกฝนวิธีการตีสลักลวดลายลงบนทองคำ จนอ่อนช้อยงดงาม แล้วนำมาตกแต่งประกอบส่วนที่เป็นเงินหรือทองส่วนอื่น ๆ ให้กลมกลืนตามที่ออกแบบไว้



เครื่องเงินเครื่องทอง
การทำเครื่องเงินและเครื่องทองให้งดงามได้นั้น ช่างทองต้องมีความชำนาญในการขึ้นรูปแผ่นเงิน หรือแผ่นทองให้ได้รูปทรงสมสัดส่วนที่ต้องการ และต้องฝึกฝนวิธีการตีสลักลวดลายลงบนทองคำ จนอ่อนช้อยงดงาม แล้วนำมาตกแต่งประกอบส่วนที่เป็นเงินหรือทองส่วนอื่น ๆ ให้กลมกลืนตามที่ออกแบบไว้



ตกแต่งปีกแมลงทับ
การตกแต่งด้วยปีกแมลงทับนี้ มีวิธีการหลายขั้นตอนซึ่งจะต้องมีความประณีต พิถีพิถันตั้งแต่การเลือกปีก คัดสี และเตรียมปีกแมลงทับที่นำมาใช้ตกแต่งต้องเป็นแมลงทับที่ทิ้งตัวตายตามธรรมชาติ จึงจะคงทนมีสีเหลือบ มันวาว ไล่สีต่างกันอย่างสวยงามและเมื่อผ่านกรรมวิธีการเตรียมปีก ที่จะช่วยให้ปีกและส่วนต่าง ๆ ของแมลงทับไม่เน่าเปื่อยหรือแห้งกรอบแล้ว จะสามารถนำมาตกแต่งด้วยการสานไปพร้อมกับการสานย่านลิเภา หรือประดับลงบนงานไม้แกะสลัก ฯลฯ






ถมทอง
เครื่องถมเป็นงานศิลปหัตถกรรมดั้งเดิม ของไทยมาตั้ง
แต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แต่มาเฟื่องฟูเป็นที่นิยมกันมาก
ในสมัยรัตนโกสินทร์เป็นงานฝีมือที่เริ่มจากการตีแผ่น
เงินเพื่อขึ้นรูปให้เป็น รูปทรงต่าง ๆ แล้วทำลวดลาย
ด้วยวิธีสลักให้พื้นผิวต่ำลงไปเป็นร่องเกิดเป็นลวดลาย
หรืออาจใช้วิธีเขียนลายกัดกรด โดยการเขียนลวดลาย
ลงบนผิวเงินที่ขึ้นรูปไว้แล้วและนำไปแช่ในน้ำกรดเพื่อ
กัดพื้นผิวเงินให้เป็นร่อง ทำให้เกิดลวดลายเหมือนการ
สลักต่อจากนั้นจึงนำยาถมซึ่งมีสีดำได้จากการ หลอม
โลหะหลาย ๆ ชนิดตามสัดส่วน มารมด้วยความร้อน
ถมตามร่อง ของลวดลายเดิมจนเต็มเสมอพื้นผิวเงิน
เมื่อตะไบให้ผิวเรียบเสมอกัน แล้วนำทองคำบริสุทธิ์ซึ่ง
ผสมเป็นเนื้อเดียวกันกับปรอทมาทาบนชิ้นงาน ให้ทั่ว
แล้วใช้ความร้อนเพื่อให้ปรอทระเหิดออกไปเหลือแต่ทอง
คำติดอยู่ สีดำของยาถม สีทองของทองคำ
จึงเรียกว่า ถมทอง

ปักผ้า
งานปักผ้าด้วยวิธีที่เรียกว่า “ปักซอย” เป็นงานประณีตศิลป์ของไทยแต่โบราณ เป็นงานที่ใช้ฝีมือความละเอียดอ่อนและความอดทนอย่างสูงของช่างปัก ที่จะบรรจงปักเส้นไหมไล่ระดับสีและแสงเงาให้เกิดเป็นภาพที่มีมิติงดงาม เส้นไหมที่ใช้ปักใช้ไหมน้อย เป็นไหมเส้นละเอียดชั้นในสุดของรังไหม โดยจะเริ่มจากการหัดปักลายเล็ก ๆ ก่อน เมื่อชำนาญแล้วจึงปักลายที่ซับซ้อน และเล่นสีเล่นเงามากขึ้น เช่นภาพธรรมชาติวิถีชีวิตชนบท ภาพสถานที่สำคัญ และภาพจินตนาการ จากวรรณคดี เมื่อผลงานปรากฏ หากมองระยะไกลจะคล้าย ๆ ภาพเขียนเหลือบสี สวยงามแปลกตา ทว่าเมื่อพิจารณาใกล้ ๆ จะเห็นฝีมือปักอันละเอียดประณีตงดงาม

ลงยาสี
การลงยาสี จะเริ่มต้นเตรียมงานด้วยการขึ้นรูปตามแบบที่ต้องการจากโลหะ ประเภททอง เงิน หรือทองแดงจะต้องกำหนดให้มีขอบกั้นสูงขึ้นพอเหมาะจากพื้นผิวเพื่อให้มีพื้นที่จะลงยาสีได้ทำพื้นผิวที่จะลงยาสีให้ขรุขระด้วยการย้ำพื้นและการแกะแร แล้วทำความสะอาดด้วยการเผาและการแช่น้ำกรด สีที่ใช้ในปัจจุบัน มีทั้งที่เป็นสีทึบและสีใส การเตรียมสีจะเริ่มจากการบดสีกับน้ำ กลั่นให้ละเอียดเป็นผงแป้งเมื่อละเอียดได้ที่หยดด้วยน้ำกรดเพื่อล้างสิ่งปนเปื้อนแช่ไว้สักครู่แล้วล้างออกด้วยน้ำกลั่น จากนั้นนำสีไปลงบนลายที่ต้องการทิ้งให้สีแห้งจนได้ที่จึงไปเผา




จักสานย่านลิเภา
ย่านลิเภาเป็นไม้เลื้อยประเภทหนึ่ง ที่ขึ้นอยู่อย่างสมบูรณ์ในพื้นที่ป่าทางภาคใต้ของไทย เถาย่านลิเภามีคุณสมบัติเหนียว ทนทาน เหมาะกับการนำมา ประดิษฐ์จักสานเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ บรรพบุรุษไทย
แต่ครั้งต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นำย่านลิเภามาจักสานเป็นเครื่องใช้มากมาย ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ศิลปะการตกแต่ง ย่านลิเภา ได้พัฒนาขึ้นในระดับสูง มีการตกแต่งกระเป๋าหมากย่านลิเภา ด้วยโลหะหรือวัสดุมีค่าเช่น ทองคำ เงิน และนาก งานจักสานย่านลิเภา ต้องใช้ความอดทนสูง เพราะมีขั้นตอนการจัดหาและเตรียมวัสดุที่ใช้ลำบาก
ย่อเนื้อหา
เข้าสู่เว็บไซต์



การแสดงโขน ศาลาเฉลิมกรุง
โขนศาลาเฉลิมกรุง จัดขึ้นเพื่อเป็นการดำเนินการตามรอย
พระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของชาติไทย
พระยุคลบาท พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ในการอนุรักษ์ สืบสาน และเผยแพร่ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ชั้นสูงของชาติไทย
แสดงเนื้อหา


การแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุง
รอบนักท่องเที่ยวพระบรมมหาราชวัง
รอบนักท่องเที่ยวพระบรมมหาราชวัง
นอกจาก “โขน” ซึ่งเป็นนาฏกรรมชั้นสูงของไทยแล้ว สถานที่จัดการแสดงคือ ศาลาเฉลิมกรุง เป็นโรงมหรสพหลวง ที่มีประวัติความเป็นมาอันยาวนานกว่ากึ่งศตวรรษ เป็นเสมือนสถาบันสัญลักษณ์แห่งการนำเสนอ
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาตินำเสนอด้วยรูปแบบของการแสดงอันวิจิตรตระการตา ถูกต้องตามจารีตแบบแผนที่
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้รับชมการแสดงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้การแสดง“โขน” ของประเทศไทยได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้ “โขนไทย” (Khon, Masked Dance Drama in Thailand)ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Intangible Cultural Heritage of Humanity)
ศิลปวัฒนธรรมประจำชาตินำเสนอด้วยรูปแบบของการแสดงอันวิจิตรตระการตา ถูกต้องตามจารีตแบบแผนที่
ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติจะได้รับชมการแสดงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ที่บ่งบอกความเป็นไทยได้อย่างแท้จริง ทั้งนี้การแสดง“โขน” ของประเทศไทยได้รับการประกาศจากยูเนสโกให้ “โขนไทย” (Khon, Masked Dance Drama in Thailand)ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกภูมิปัญญาทางด้านวัฒนธรรมของมนุษยชาติ (Intangible Cultural Heritage of Humanity)

การจัดการแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุงนั้น เป็นการรักษาอัตลักษณ์ แห่งโขนไว้อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านขนบจารีตในการแสดงและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (Authenticity) คุณค่าแห่งศิลปะชั้นสูงอันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกไทย (Thai Heritage) และความเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง (Entertainment) ธำรงไว้ซึ่งความงดงามตามจารีตดั้งเดิมทั้งลีลาและท่วงท่าการแสดง ล้วนเน้นความประณีตอ่อนช้อย การแสดงมีกระบวนท่าที่สวยงาม รวดเร็ว กระชับดนตรีไทยบรรเลงสด ใช้การพากย์เจรจาที่แสดงศิลปะของการเปล่งเสียงเป็นท่วงทำนอง โดยให้เห็นลีลาของผู้พากย์บนเวทีการแสดง ประกอบด้วยเทคนิคแสง สี ภาพประกอบ ตลอดจนฉากวิจิตรงดงามตระการตาอย่างสมัยใหม่พร้อมมีคำบรรยายภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่ออธิบายเรื่องราวตลอดการแสดง
การจัดการแสดงโขนศาลาเฉลิมกรุงนั้น เป็นการรักษาอัตลักษณ์ แห่งโขนไว้อย่างครบถ้วน ทั้งในด้านขนบจารีตในการแสดงและพิธีกรรมที่เกี่ยวเนื่อง (Authenticity) คุณค่าแห่งศิลปะชั้นสูงอันเป็นส่วนหนึ่งของมรดกไทย (Thai Heritage) และความเป็นมหรสพเพื่อความบันเทิง (Entertainment) ธำรงไว้ซึ่งความงดงามตามจารีตดั้งเดิมทั้งลีลาและท่วงท่าการแสดง ล้วนเน้นความประณีตอ่อนช้อย การแสดงมีกระบวนท่าที่สวยงาม รวดเร็ว กระชับดนตรีไทยบรรเลงสด ใช้การพากย์เจรจาที่แสดงศิลปะของการเปล่งเสียงเป็นท่วงทำนอง โดยให้เห็นลีลาของผู้พากย์บนเวทีการแสดง ประกอบด้วยเทคนิคแสง สี ภาพประกอบ ตลอดจนฉากวิจิตรงดงามตระการตาอย่างสมัยใหม่พร้อมมีคำบรรยายภาษาอังกฤษและภาษาจีนเพื่ออธิบายเรื่องราวตลอดการแสดง

- นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เข้ามาท่องเที่ยวในประเทศไทยสามารถซื้อบัตรเข้าชมวัดพระศรีรัตนศาสดารามและพระบรมมหาราชวัง ในราคา ๕๐๐ บาท ณ จุดจำหน่ายบัตรพระบรมมหาราชวัง โดยนักท่องเที่ยวจะได้รับบัตรเข้าชมการแสดงโขนด้วย
- สามารถเข้าชมในรอบนักท่องเที่ยวที่จัดเป็นพิเศษขึ้นมา ณ โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง ระหว่างวันจันทร์ – วันศุกร์ จัดแสดงวันละจำนวน ๕ รอบ ได้แก่เวลา ๑๐.๓๐ น. / ๑๓.๐๐ น. / ๑๔.๓๐ น. / ๑๖.๐๐ น. และ ๑๗.๓๐ น. ความยาวการแสดงรอบละ ๒๕ นาที
- นักท่องเที่ยวสามารถนำบัตรมาติดต่อเข้าชมการแสดงโขนตามรอบที่กำหนดได้ที่โรงมหรสพหลวงศาลาเฉลิมกรุง
- โทรศัพท์ ๐-๒๒๒๔-๔๔๙๙ (www.salachalermkrung.com)โดยมีรถบริการรับนักท่องเที่ยวจอดรับอยู่บริเวณด้านหน้าประตูวิมานเทเวศร์ ซึ่งเป็นประตูทางออกของพระบรมมหาราชวังรถบริการรับนักท่องเที่ยวไปศาลาเฉลิมกรุงออกก่อนรอบการแสดงเป็นเวลา ๓๐ นาที

ย่อเนื้อหา
เข้าสู่เว็บไซต์



พิพิธภัณฑ์ผ้า
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ
ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอก
ริมกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐาน การใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบูรณะปรับปรุง และก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง
ริมกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐาน การใช้พื้นที่บริเวณดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ มีการบูรณะปรับปรุง และก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง
แสดงเนื้อหา

สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระราชดำริให้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าฯขึ้นเพื่อเป็นแหล่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับผ้าไทยและประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของคนไทย พิพิธภัณฑ์ผ้าฯจึงเป็นสถานที่รวบรวมจัดเก็บรักษาผ้าไทยและเอกสารที่เกี่ยวข้องตลอดจนจัดแสดงงานหัตถศิลป์จากผ้าอันทรงคุณค่าของราชสำนักและผ้าพื้นเมืองต่างๆเพื่อสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์การทอผ้าของไทย ให้คงอยู่เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมของชาติสืบไป
การก่อตั้ง พิพิธภัณฑ์ผ้า
ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
พระบรมราชินีนาถ

พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นนอกริมกำแพงพระบรมมหาราชวังด้านทิศเหนือ ปรากฏหลักฐานการใช้พื้นที่บริเวณ
ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีการบูรณะปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง
ดังกล่าวมาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์มีการบูรณะปรับปรุงและก่อสร้างเพิ่มเติมหลายครั้ง

พระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ก่อสร้างอาคาร ๒ ชั้น เป็นแถวยาวเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๓ และพระราชทานนามหอรัษฎากรพิพัฒน์ เพื่อเป็นที่ทำการกรมพระคลังมหาสมบัติมีหน้าที่บริหารงาน ด้านการจัดเก็บระเบียบภาษีอากร ต่อมาอาคารนี้ได้กลายเป็นที่ทำการของหน่วยงานอย่างน้อย ๔ หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานธนาคารชาติไทยกรมธนารักษ์ราชบัณฑิตยสถานกองพระราชพิธี จากนั้นจึงว่างเว้นจากการใช้งาน
ในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ซึ่งการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณารับเป็นประธานที่ปรึกษา ต่อมาในวันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯจึงเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ
ในพุทธศักราช ๒๕๔๖ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถกราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตใช้อาคารหอรัษฎากรพิพัฒน์ เป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ซึ่งการนี้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณารับเป็นประธานที่ปรึกษา ต่อมาในวันที่ ๙ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ พิพิธภัณฑ์ผ้าฯจึงเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการ

วิสัยทัศน์ และพันธกิจ
พิพิธภัณฑ์ผ้า ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ จัดตั้งขึ้นตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ที่ทรงมุ่งหวังให้เป็นแหล่งความรู้ที่ยั่งยืนเกี่ยวกับผ้าตลอดจนประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของไทย
ที่ทรงมุ่งหวังให้เป็นแหล่งความรู้ที่ยั่งยืนเกี่ยวกับผ้าตลอดจนประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกายของไทย
ผู้ที่สนใจสามารถเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของผ้าชนิดต่างๆ และการแต่งกายอันเป็นเอกลักษณ์ของชาติตั้งแต่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จนถึงปัจจุบันสะท้อนผ่านเครื่องแต่งกายในราชสำนักยุคต่างๆรวมทั้งฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ทรงนำความเป็นไทยออกไปสู่สากลและก่อให้เกิดรายได้กลับมาสู่
ผู้ผลิตในประเทศ
ผู้ผลิตในประเทศ
นอกจากเป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับผ้าไทยแล้วพิพิธภัณฑ์ผ้าฯ ยังเป็นศูนย์กลางในการจัดเก็บรักษาผ้าไทยและเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงจัดแสดงงานหัตถศิลป์ อันทรงคุณค่าทั้งของราชสำนักและผ้าพื้นเมืองจากท้องถิ่นต่างๆ เพื่อเป็นการสืบสานสมบัติทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าให้คงอยู่สืบ
เวลาทำการ และอัตราค่าเข้าชม
เวลาทำการ
เปิดทุก วัน เวลา ๐๙.๐๐ - ๑๖.๓๐ น. ปิดจำหน่ายบัตรเข้าชมเวลา ๑๕.๓๐ น.
อัตราค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่: ๑๕๐ บาท
*ผู้สูงอายุ (อายุ ๖๕ ปีขึ้นไป): ๘๐บาท
*นักเรียน / นักศึกษา: ๕๐ บาท
*เด็กอายุ ๑๒-๑๘ ปี: ๕๐ บาท
*เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี เข้าชมฟรี
(*โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
*ผู้สูงอายุ (อายุ ๖๕ ปีขึ้นไป): ๘๐บาท
*นักเรียน / นักศึกษา: ๕๐ บาท
*เด็กอายุ ๑๒-๑๘ ปี: ๕๐ บาท
*เด็กอายุต่ำกว่า ๑๒ ปี เข้าชมฟรี
(*โปรดแสดงบัตรประจำตัว)
สถานที่ตั้ง
พิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิต์พระบรมราชินีนาถตั้งอยู่ ณ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวังระหว่างประตูวิมานเทเวศร์กับประตูวิเศษไชยศรี
โทรศัพท์
โทรสาร
๐ ๒๒๒๕ ๙๔๓๑
เว็บไซต์
ย่อเนื้อหา
เข้าสู่เว็บไซต์


ร้านดอยคำ
ร้านดอยคำ ในพระบรมมหาราชวัง ตั้งอยู่ที่อรรถวิจารณ์ศาลา ใกล้กับประตูสรีสุนทร และพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เริ่มเปิดบริการเมื่อวันจันทร์ที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๑ โดยภายในร้านดอยคำ สาขาพระบรมมหาราชวัง มีเครื่องดื่ม ร้อน-เย็น และขนม พร้อมผลิตภัณฑ์จากโครงการพระราชดำริต่างๆ ให้บริการ โดยเปิดทำการตั้งแต่เวลา ๐๗.๓๐ – ๑๖.๐๐ น.
แสดงเนื้อหา


อัฏฏวิจารณ์ศาลา : อรรถวิจารณ์ศาลา ตั้งอยู่ริมประตูสรีสุนทร หรือประตูต้นสน เป็นอาคารที่สร้างขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก
ลักษณะเป็นอาคารชั้นเดียว ยกพื้น ก่ออิฐถือปูน เมื่อครั้งที่สยามจัดระบบการยุติธรรมขึ้นใหม่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ใช้อาคารแห่งนี้เป็น “ศาลฎีกา” พระราชทานนามว่า
“อัฏฏวิจารณ์ศาลา” ซึ่งมีความหมายตามรากศัพท์คือ
หมายเหตุ: งดส่วนลดบัตรสมาชิก
“อัฏฏวิจารณ์ศาลา” ซึ่งมีความหมายตามรากศัพท์คือ
• อัฏฏะ (อัต-ตะ) หมายถึง คดีความ
• วิจารณ์ หมายถึง ตรวจตรา สืบค้น
• ศาลา หมายถึง อาคารที่ถูกสร้างขึ้น
“อัฏฏวิจารณ์ศาลา” หรือ “อรรถวิจารณ์ศาลา” ก็คือ “ศาลาพิจารณาคดี” หรือ “ศาล” นั่นเอง ปัจจุบัน อรรถวิจารณ์ศาลา คือร้านดอยคำ สาขาพระบรมมหาราชวังหมายเหตุ: งดส่วนลดบัตรสมาชิก
ดอยคำ หนึ่งในโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ นำผลิตผลทางการเกษตรโดยรอบโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปทั้ง ๓ แห่ง มาแปรรูปเป็นสินค้าอาทิ น้ำผลไม้ ผลไม้อบแห้ง ผลิตภัณฑ์ทาขนมปัง น้ำผึ้ง และอื่นๆ
อีกหลายผลิตภัณฑ์ ปัจจุบัน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ดำเนินงานผ่านโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป
๓ แห่งได้แก่
๑. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่
๒. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย
๓. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย) จังหวัสกลนคร
อีกหลายผลิตภัณฑ์ ปัจจุบัน บริษัท ดอยคำผลิตภัณฑ์อาหาร จำกัด ดำเนินงานผ่านโรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูป
๓ แห่งได้แก่
๑. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๑ (ฝาง) จังหวัดเชียงใหม่
๒. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๒ (แม่จัน) จังหวัดเชียงราย
๓. โรงงานหลวงอาหารสำเร็จรูปที่ ๓ (เต่างอย) จังหวัสกลนคร

โดยโรงงานหลวงฯ ทั้ง ๓ แห่ง มีส่วนในการพัฒนาชุมชนชนบทตามศาสตร์ของพระราชา และโมเดลของดอยคำ กว่า ๑,๐๐๐ ครัวเรือน รวมถึงการพัฒนาการศึกษาด้วยการพัฒนาโรงเรียนในบริเวณรอบโรงงานหลวงฯและบำรุงพุทธศาสนาด้วยการพัฒนาวัดให้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจแก่คนในชุมชน จะเห็นได้ว่า ดอยคำมีการดำเนินงานที่เป็น ธุรกิจเพื่อสังคมอย่างยั่งยืนรอบด้านทั้งการพัฒนาเกษตรกร ชุมชน และสังคม

ร้านค้า Golden Place
ต้นแบบร้านค้าปลีกเพื่อคนไทย ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท สุววรณชาต จำกัด ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งเริ่มขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘ นับว่าเป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริที่พระบามสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชการที่ ๙ ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมให้มีรูปแบบและการจัดการที่เหมาะสมแก่การดำรงชีวิต มีความหลากหลายและราคาไม่แพง เปรียบได้กับว่าร้าน “โกลเด้น เพลซ” เป็น
“ตู้เย็น” ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เป็นการทำธุรกิจการค้าปลีกแบบยั่งยืนเกี่ยวกับสินค้าการเกษณ ด้วยการส่งเสริมด้านการผลิตให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ
“ตู้เย็น” ของประชาชนในแต่ละพื้นที่ เป็นการทำธุรกิจการค้าปลีกแบบยั่งยืนเกี่ยวกับสินค้าการเกษณ ด้วยการส่งเสริมด้านการผลิตให้มีคุณภาพสม่ำเสมอ

ร้านโกลเด้น เพลซ สาขาพระบรมมหาราชวัง เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐ – ๑๗.๐๐ น.
ย่อเนื้อหา
เข้าสู่เว็บไซต์


เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้เพื่อปรับปรุงและเพิ่มประสบการณ์การใช้งานของท่านในเว็บไซต์นี้ โดยการเข้าใช้เว็บไซต์นี้ ท่านยอมรับเงื่อนไขการใช้ คุกกี้ของเรา
ยอมรับ